วงการพระเครื่องในปัจจุบัน นับเป็นอีกหนึ่งวงการที่แพร่หลายและได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเสน่ห์ความขลัง ประวัติความเป็นมา พุทธคุณและมูลค่าของพระเครื่อง ทำให้วงการพระเครื่องเติบโตอย่างรวดเร็ว หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจในพระเครื่อง “ศัพท์พระเครื่อง” คือเรื่องที่คุณต้องรู้ เพื่อให้เข้าใจว่าเหล่าเซียนพระ นักเลงพระหรือนักสะสมพระกำลังพูดถึงอะไรกัน เพราะทุกวงการต่างก็มีศัพท์เฉพาะตัว วงการพระเครื่องเองก็มีภาษาพระเครื่องเช่นเดียวกัน
ซึ่งวันนี้เราจะพาไปรู้จักศัพท์พระเครื่องที่ต้องรู้ไว้ก่อนจะเป็นเซียนพระมาฝาก จะมีศัพท์วงการพระอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย
1. ศัพท์พระเครื่องเกี่ยวกับตัวพระเครื่อง
- พระกรุ หมายถึง พระเครื่องสมัยโบราณที่คนในยุคก่อนสร้างขึ้น และนำไปบรรจุเอาไว้ในกรุที่เจดีย์ ใต้ฐานพระวิหาร โบสถ์ ฯลฯ เพื่อเป็นการสืบทอดพุทธศาสนา
- พระเกจิ หมายถึง พระภิกษุผู้รู้จนแตกฉาน ซึ่งคำว่า เกจิ ย่อมาจากคำว่า เกจิอาจารย์ ที่ใช้เรียกพระเครื่องที่ถูกสร้างขึ้นจากพระเกจิอาจารย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่มีอายุไม่เกิน 200 ปี และไม่ได้นำไปฝังไว้ในกรุพระ
- พิมพ์นิยม หมายถึง พิมพ์ขององค์พระเครื่องที่เหล่าเซียนพระส่วนใหญ่ให้การยอมรับและนิยมนำมาบูชาเยอะกว่าพิมพ์อื่นๆ ในพระชุดเดียวกัน โดยอาจเป็นเพราะพระพิมพ์ที่หายาก มีลักษณะที่ดี หรือชื่อของพระเครื่องมีความเป็นมงคล เป็นต้น
- สวยแชมป์ หมายถึง พระเครื่องที่มีความสวยงามมาก ที่หากนำไปออกงานประกวดมักเป็นพระเครื่องที่ได้รางวัลเสมอๆ
- ของฟลุ๊ค หมายถึง การเช่าหาพระ และได้มาในราคาถูก แต่เมื่อปล่อยเช่าออกไปแล้วกลับได้ราคาดีหรือทำราคาได้ดีโดยไม่ตั้งใจนั่นเอง
- เก๊สนาม หมายถึง พระปลอมที่มีคนสร้างพระปลอมทำออกมาหลอกขายให้กับเซียนพระหรือนักสะสมหน้าใหม่ โดยจะกองขายเป็นกระจุกๆ ตามสนามพระใหญ่ๆ อย่างท่าพระจันทร์ พญาไม้ ฯลฯ
2. ศัพท์พระเครื่องเกี่ยวกับราคาพระ
- ศัพท์วงการพระ 1 บาท = 100 บาท
- ศัพท์วงการพระ 10 บาท = 1,000 บาท
- หลักหมื่นจะมีหน่วยเป็นก้อน เช่น 1 ก้อน = 10,000 บาท
- หลักแสนจะมีหน่วยเป็นปั้น เช่น 1 ปั้น = 100,000 บาท
- นอกจากนี้ ราคาในแต่ละหลักยังมีการเรียกแยกย่อยออกไปอีก เช่น
- หมื่นเศษ หมายถึง ราคาที่อยู่ระหว่าง 10,000 - 20,000 บาท
- หมื่นต้นๆ หมายถึง ราคาที่อยู่ระหว่าง 10,000 - 30,000 บาท
- หมื่นกลาง หมายถึง ราคาที่อยู่ระหว่าง 40,000 - 60,000 บาท
- หมื่นปลาย หมายถึง ราคาที่อยู่ระหว่าง 70,000 - 100,000 บาท
3. ภาษาพระเครื่องเกี่ยวกับการเช่าพระ
- เช่า (ซื้อพระ) หมายถึง การซื้อพระในวงการพระเครื่องจะนิยมใช้คำว่า “เช่า” แทนการซื้อพระ
- ตุ๊ง หมายถึง ตกลง โดยจะใช้ในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายพระเครื่องกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ทุบ หมายถึง คนที่ซื้อพระได้ในราคาที่ถูกกว่าราคาที่เจ้าของเช่ามา ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ศัพท์ในวงการพระจะนิยมใช้คำว่า “ทุบ” นั่นเอง
- ฟิต หมายถึง ผู้เช่าที่แสดงอาการหรือลักษณะออกชัดว่าอยากได้พระเครื่ององค์นี้มากๆ โดยที่ไม่สนใจราคา
- องค์วิ่งหนี หมายถึง การเช่าพระเครื่องแบบฉกฉวย โดยการหยิบเอาพระเครื่องที่เจ้าของหวงมากๆ มาก่อนแล้วจึงติดต่อเรื่องราคาพระกับเจ้าของในภายหลัง ภาษาพระเครื่องนิยมใช้คำว่า “องค์วิ่งหนี”
- ตกควาย หมายถึง การขายพระราคามั่ว หรือขายไปในราคาที่ต่ำกว่าราคากลางที่คนเล่นพระตั้งกันเอาไว้
4. ศัพท์พระเครื่องเกี่ยวกับเนื้อพระ
- ชินเงิน หมายถึง การเอาเนื้อตะกั่วไปผสมกับดีบุก โดยมีเนื้อของดีบุกมากกว่าตะกั่ว จนทำให้ผิวออกขาวเหมือนกับผิวปรอท และมีความแวววับจับตัวองค์พระ ศัพท์วงการพระเรียกกันว่า “ชินเงิน”
- เนื้อผง หมายถึง พระเนื้อผงที่มีส่วนผสมของดอกไม้หรือผงวิเศษที่พระเกจิอาจารย์ทำขึ้น โดยเนื้อผงจะมีลักษณะเป็นสีออกสีขาวหรือสีนวล
- ชินตะกั่ว หมายถึง เนื้อโลหะที่มาจากตะกั่ว 100% ไม่มีอย่างอื่นผสม โดยจะมีคุณสมบัติอ่อนนุ่มและเมื่อถูกสัมผัสจะมีสีขาวเหมือนกับเงินยวง และเปลี่ยนกลับไปเป็นสีดำอย่างรวดเร็วเมื่อถูกอากาศ
- เนื้ออัลปาก้า หมายถึง เนื้อสแตนเลสที่มีส่วนผสมของทองแดงและสังกะสี โดยส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ผลิตกับเหรียญพระ
- เนื้อดิน หมายถึง ดินนาหรือพระที่มีดินเหนียวเป็นส่วนผสม โดยสีของตัวพระจะมีสีดำ เนื่องจากโดนเผาไหม้ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจะมีแร่ธาตุซึมออกมา และเมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศและความร้อนจะทำให้มีความมันวาวเกิดขึ้นได้นั่นเอง
5. คำศัพท์พระเครื่องทั่วไปที่ใช้พูดกันในวงการพระ
- รังแตก หมายถึง คนที่สะสมพระเครื่องไว้เป็นจำนวนมาก ที่เมื่อเวลาผ่านไปพระรุ่นนั้นๆ ที่เก็บเอาไว้เกิดเป็นที่นิยมขึ้นมา และถูกนำมาปล่อยในสนามพระ หรือตลาดพระครั้งละจำนวนมากๆ ในวงการศัพท์พระเครื่องจะเรียกกันว่า “รังแตก”
- เสี้ยนพระ หมายถึง คนที่มีความรู้ในเรื่องพระเครื่อง แต่ไม่มีจริยธรรมหรือความซื่อสัตย์ ขายพระปลอม พระเก๊ ทำให้วงการพระเสื่อมเสีย ภาษาในวงการพระเรียกคนเหล่านี้ว่า “เสี้ยน”
- เซียนพระ หมายถึง คนที่มีความชำนาญในเรื่องของพระเครื่อง และได้รับการยอมรับจากคนในวงการ ว่าสามารถดูและวิเคราะห์พระเครื่ององค์ต่างๆ ได้ว่าเป็นของแท้หรือของปลอม
- ผีสนาม หมายถึง คนที่อยู่ตามแผงหรือสนามพระ และเข้ากับเซียนพระได้ง่ายๆ แต่ไม่มีร้านเป็นของตัวเอง
- ปาดคอ หมายถึง พระปลอมที่ทำเหมือนกับของแท้มากๆ จนบางคนสับสนว่าเป็นของแท้หรือของปลอม
- เล่นผิดทาง หมายถึง การเล่นพระที่ไม่ได้เป็นไปตามแนวทางที่คนทั่วไปเล่นกัน หรือการเล่นพระแท้ไปแลกพระเก๊ หรือเล่นพระเก๊เอาไปแลกพระแท้ เป็นต้น
- ชีวิตเปลี่ยน หมายถึง คนที่เช่าพระเก๊มาในราคาพระแท้
- ตายเกลื่อน หมายถึง คนที่มีฝีมือมากในการทำพระปลอมจนหลอกตาเซียนพระได้ และหลุดเข้าไปในสนามพระ โดยที่เซียนพระทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ หรือเจ้าของแผงต่างก็เช่าเก็บเอาไว้ แบบนี้ศัพท์วงการพระเรียกกันว่า “ตายเกลื่อน”
สำหรับศัพท์พระเครื่องที่ทางเราได้นำมาแนะนำในวันนี้ เป็นเพียงบางส่วนที่พอให้เซียนพระมือใหม่ได้เข้าใจความหมายกันมากขึ้น เพราะยังมีภาษาพระเครื่องอีกมากมายที่ให้เซียนพระมือใหม่ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจอยู่อีกมาก และสำหรับเซียนพระหรือนักสะสมพระมือใหม่คนไหนที่อยากตรวจเช็กพระเครื่องที่เก็บไว้ที่บ้านว่าเป็นของจริงหรือเก๊ สามารถมาตรวจเช็กกับเราได้ เพียงแค่โหลดแอปพลิเคชัน SK Check คุณก็สามารถตรวจเช็กได้แล้วว่าพระที่มีอยู่เป็นของแท้หรือปลอม
ตรวจสอบโดยทีมงานเซียนพระมืออาชีพที่มีคุณภาพ รับประกันโดยโอ๊ต บางเเพ
☑️ แอดไลน์ @skcheck
☑️ หรือคลิก https://lin.ee/didOn9m
☑️ สอบถาม / ติดตามรายละเอียด : เพจ SK Check สันขวาน by โอ๊ต บางแพ