“พระนางพญา” ราชินีพระเครื่องตลอดกาล หนึ่งในชุดเบญจภาคี

Screenshot 2567-09-23 at 20.24.59.png

พระนางพญาเป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงและทรงคุณค่าในวงการพระเครื่องไทยมาตั้งแต่โบราณ ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระเบญจภาคีที่มีประวัติการสร้างและความเชื่อความศรัทธาผ่านช่วงเวลาหลายอายุคน วันนี้พระเครื่องสันขวานขออาสาพาเหล่าเซียนพระมือใหม่ย้อนเวลาไปทำความรู้จักประวัติของพระนางพญา รวมถึงลักษณะมวลสาร และพุทธคุณ ที่เซียนพระจะต้องรู้ มาติดตามไปพร้อมกันที่บทความนี้

ประวัติพระนางพญา ราชินีพระเครื่องในวงการพระไทย

จากตำนานเชื่อกันว่าวัดนางพญาเป็นวัดที่ถูกสร้างโดย พระวิสุทธิกษัตริย์ตรี พระอัครชายาของพระมหาธรรมราชา กับพระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ในขณะที่ปกครองหัวเมืองสองแคว ได้ร่วมกันสร้างพระนางพญาบรรจุลงในพระเจดีย์ตามความเชื่อโบราณไว้ พระนางพญาจึงเป็นพระเครื่องที่สร้างด้วยการผสามผสานศิลปะในสมัยอยุธยาและสุโขทัย หลังจากนั้นถูกทิ้งร้างไว้จึงถือว่าเป็นพระที่อยู่ในดินยาวนานเกือบ 500 ปี

ต่อมาพระนางพญาได้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2444 ที่กรุเจดีย์วัดหลังโบสถ์ที่วัดนางพญา จ.พิษณุโลก โดยเล่ากันว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทำให้วัดนางพญาต้องมีการปรับที่ดินเพื่อรับเสด็จ พระเจดีย์ในวัดได้พังลงมาพระนางพญาที่ถูกบรรจุอยู่ข้างในกรุก็ได้กระจัดกระจายออกมา ชาวบ้านจึงนำพระนางพญาทูลเกล้าฯ ถวาย และพระองค์ได้แจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จในครานั้นไป เหตุการณนี้จึงทำให้พระนางพญาถูกนำมาที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกด้วย

ความเชื่อและพลังศรัทธา พุทธคุณของพระนางพญา

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าในปัจจุบันพระนางพญาได้ถูกจัดให้เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ถือว่าเป็นพระเครื่องที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนนิยมสะสมบูชามาก ทั้งยังเป็นพระพิมพ์ที่มีอายุเก่าแก่เชื่อกันว่ามีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด โชคลาภ คงกระพันชาตรี โดยเฉพาะผู้หญิงที่ทำงานตำแหน่งหัวหน้าหรือผู้ที่ต้องทำหน้าที่ปกครองคน หากนำไปบูชาจะทำให้คนเคารพนับถือ มีบารมี มีผู้เกรงใจ แม่ค้านำไปบูชาส่งเสริมให้ทำมาค้าขายกิจการรุ่งเรือง

ลักษณะและมวลสารของพระนางพญา

พระนางพญาเป็นพระพิมพ์เก่าแก่ที่มีลักษณะรูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วโดดเด่น รูปทรงประติมากรรมมีความอ่อนหวานและสง่างาม เน้นบริเวณอกให้มีความนูนขึ้น รูปทรงองค์พระเป็นท่าประทับนั่งปางมารวิชัย ไม่มีอาสนะหรือฐานรองรับ เนื้อมวลสารของพระเครื่องนางพญาสร้างจากดินเผา และในบางพิมพ์มีการผสมเนื้อว่านเข้าไปด้วย จึงทำให้เนื้อพระมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อนุ่ม นอกจากนี้ ยังมีมวลสารอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น พระธาตุเหล็กไหล, โพรงเหล็กไหล, ผงถ่านใบลาน, เกสรดอกไม้, น้ำมนต์ทิพย์, และแร่กรวดทราย อีกทั้งสีของขององค์พระก็มีหลายสีด้วยกัน เช่น สีแดง, สีส้ม, สีดำ, สีเขียว, สีพิกุล และสีน้ำตาล เป็นต้น

พระนางพญามีกี่พิมพ์ ?

พระนางพญาทุกพิมพ์จะเป็นเนื้อดินและมีสภาพความคมชัดที่แตกต่างกันตามอายุและเวลาการใช้งาน ซึ่งเราสามารถจำแนกได้ 7 พิมพ์ ดังนี้

  1. พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง
  2. พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง
  3. พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง (มือตกเข่า)
  4. พระนางพญา พิมพ์อกนูนใหญ่
  5. พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ
  6. พระนางพญา พิมพ์เทวดา
  7. พระนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก

พระนางพญาเป็นพระเครื่องที่มีพุทธศิลป์สวยงามและมีประวัติการสร้างมาแต่โบราณจนได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระเบญจภาคีที่มีความสำคัญของวงการพระเครื่องไทย และในปัจจุบันนี้ถือว่าพระนางพญาเป็นพระเครื่องที่หายาก เพราะมีจำนวนน้อยและมีการเช่าหรือซื้อขายในราคาสูง สำหรับผู้ที่กำลังสนใจศึกษาหรือต้องการตรวจดูพระเครื่องที่บ้าน สามารถพูดคุยกับทีมงานพระเครื่องสันขวาน เซียนพระมืออาชีพ นำโดยโอ๊ต บางเเพ เซียนพระผู้มากประสบการณ์ในวงการพระเครื่องไทย

SK CHECK (10).png

ตรวจสอบโดยทีมงานเซียนพระมืออาชีพที่มีคุณภาพ รับประกันโดยโอ๊ต บางเเพ

☑️ แอดไลน์ @skcheck

☑️ หรือคลิก https://lin.ee/didOn9m

☑️ สอบถาม / ติดตามรายละเอียด : เพจ SK Check สันขวาน by โอ๊ต บางแพ