เชื่อว่าคนที่อยู่ในวงการพระเครื่องหรือคนที่สนใจในวงการพระเครื่องคงต้องเคยได้ยินคำว่า “พระกรุ” กันมาบ้าง เพราะเป็นพระเครื่องโบราณที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว “พระกรุ คืออะไร” วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกันว่าพระกรุ คืออะไร และมีพระกรุรุ่นไหนบ้างที่น่าเก็บสะสม
พระกรุ คือพระที่สร้างขึ้นมาในสมัยโบราณ โดยพระเกจิหรือพระมหากษัตริย์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา หรือเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในสงครามให้กับทหาร ที่ต้องออกไปทำศึกและเมื่อจบศึกสงครามพระกรุเหล่านี้จะถูกนำไปบรรจุเอาไว้ในกรุและนำไปฝังในเจดีย์ใต้ฐานพระวิหาร หลังคาโบสถ์ ฯลฯ พระกรุ มีรุ่นไหนที่น่าเก็บบ้าง ?
เป็นพระเครื่องกรุแตกที่ถูกขุดพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีตำนานกล่าวขานกันว่าเป็นพระเครื่องที่เสือมเหศวร ซึ่งเป็นจอมโจรภาคกลางชื่อดังพกติดตัวและอาราธนาอยู่บนคนตลอดเวลา มีพุทธคุณในเรื่องคงกระพันชาตรี ยิงฟันไม่เข้า แคล้วคลาด โดยตัวพระกรุมเหศวรนั้นแต่เดิมเรียกว่า “พระสวน” เป็นพระกรุเนื้อชินเงิน ศิลปะอู่ทอง ประทับท่านั่งปางมารวิชัย สองหน้า นั่งเอาเศียรพระสวนทางกัน ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนชื่อเรียกตามเสือมเหศวรว่า “พระมเหศวร” พระมเหศวร จะแบ่งตามขนาดองค์พระทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก และพิมพ์ใหญ่พิเศษ อีกทั้งยังมีการแบ่งตามพระพักตร์ ไม่ว่าจะเป็นหน้าอู่ทอง หน้าพระเศียรขนนกและหน้าพระเนตรโปน เป็นต้น แต่ที่เหล่าเซียนพระหรือนักสะสมพระอยากได้มาบูชา คือพระมเหศวรเดี่ยว ที่ถูกสร้างขึ้นโดย ฤาษีพิมพิลาไลย ซึ่งเป็นพระที่พบในกรุจำนวนน้อยมาก
พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระกรุเก่าแก่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยพระกริ่งคลองตะเคียนถูกสร้างขึ้นจากเนื้อดิน ผสมผงใบลาน ว่านร้อยแปด มวลสารสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเกสรดอกไม้มงคล ซึ่งมีความแตกต่างจากพระกรุอื่นๆ ที่สร้างจากเนื้อโลหะ โดยเอกลักษณ์ของพระกริ่งคือ ตัวพระจะถูกเจาะกลวงและบรรจุเม็ดกริ่งเข้าไป เวลาเขย่าจะส่งเสียงดัง จึงทำให้ถูกเรียกขานกันว่า “พระกริ่ง” ส่วนคำว่า “คลองตะเคียน” คือจุดกำเนิดที่เจอพระกริ่งครั้งแรกนั่นเอง
สำหรับพระกริ่งคลองตะเคียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสามารถแบ่งแยกได้ 3 สีคือ สีดำ สีเขียวอมเทาและสีเหลืองอมเขียว นอกจากนี้พระกริ่งคลองตะเคียนยังมีด้วยกันทั้งหมด 4 พิมพ์ คือ พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก, พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์สองหน้า, พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็ก, พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์ปิดตา เป็นต้น นอกจากนี้พระกริ่งคลองตะเคียนยังขึ้นชื่อเรื่องพุทธคุณเป็นเลิศในด้าน คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในวงการนักสะสมและเหล่าเซียนพระ
พระปิลันท์ หรือพระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง สร้างขึ้นโดยหม่อมเจ้าสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ในสมัยที่ดำรงสมณศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ วัดระฆัง ซึ่งท่านเป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ในสมัยที่ช่วงเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จขึ้นมา โดยมีการสันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นมาในช่วงปี พ.ศ. 2407 ซึ่งวัตถุที่ใช้สร้างจะเป็นพระเนื้อผงใบลานสีเทาและเนื้อผงสีขาว มีหลากหลายพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่, พิมพ์ปรกโพธิ์เล็ก, พิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ โดยเฉพาะ “พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู” ที่ได้รับความนิยมและถูกย่องเป็น 1 ใน 5 ของ “พระชุดเบญภาคีพระเนื้อผง” ที่เหล่าเซียนพระและนักสะสมพระเครื่องอยากได้มาบูชา ซึ่งพุทธคุณของพระปิลันทน์นั้นเรียกได้ว่าครอบจักรวาล เหมือนกับพระสมเด็จฯ แต่ที่โดดเด่นจะเป็นในเรื่องของคงกระพันชาตรีนั่นเอง
สำหรับวิธีสังเกตพระปิลันทน์นั้น ให้สังเกตจากขอบด้านนอกจะมี 2 ชั้น มีคราบไขสีขาว มีน้ำหนักเบา ตัวเสาจะมีลักษณะเอียงเล็กน้อยในด้านหน้า ด้านหลังจะอูมนูนเล็กน้อย ซึ่งในบางพิมพ์จะมีอักขระเลขยันต์ปรากฎอยู่ด้วย
หากพูดถึงพระกรุชื่อดังคงต้องมีชื่อ “พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง” จังหวัดสุพรรณบุรี สุดยอดพระเครื่องสมัยอยุธยาที่มีอายุร่วม 400 ปี พระขุนแผนวัดบ้านกร่างเป็นพระกรุเนื้อดินเผาศิลปะอยุธยา ที่มีตำนานเล่าต่อกันมาว่าหลังสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราช ได้สั่งให้ทหารสร้างพระเครื่องจำนวน 84,000 องค์ นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดบ้านกร่าง เพื่ออุทิศให้แก่ทหารที่เสียชีวิต สำหรับพระขุนแผนวัดบ้านกร่าง เป็นพระแตกกรุจากเจดีย์หลังพระวิหารเก่าในช่วงปี พ.ศ. 2447 โดยกรุพระที่ค้นพบนั้นมีหลากหลายพิมพ์ ทั้งพระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกใหญ่, พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลใหญ่, พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกเล็ก, พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลเล็ก, พระขุนแผน พิมพ์แขนอ่อน, พระพลายเดี่ยว พิมพ์หน้าเทวดา, พระพลายเดี่ยว พิมพ์หน้าฤาษี, พระพลายคู่ พิมพ์อกครุฑ, พระพลายคู่ พิมพ์หน้ากลม เป็นต้น
นอกจากนี้ชาวบ้านในสมัยก่อนยังเชื่อว่าพระขุนแผนมีพุทธคุณสูงส่งทางด้าน เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ ทำให้พระกรุขุนแผน กลายมาเป็นพระเครื่องที่ได้รับความนิยมจากนักสะสมพระเครื่องและเซียนพระ
พระกรุวัดเงิน ถูกค้นพบหลังจากการเวนคืนที่ดินใน พ.ศ. 2480 ที่วัดเงิน ซึ่งในปัจจุบันไม่มีปรากฎบนแผนที่ให้ได้เห็นแล้ว เนื่องจากกลายเป็นที่ตั้งของ “การท่าเรือแห่งประเทศไทย” นั่นเอง โดยมีการสันนิษฐานกันว่าพระกรุวัดเงิน คลองเตย ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เนื่องจากมีศิลปะสกุลช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นปรากฎอยู่บนเนื้อพระ รวมถึงเนื้อมวลสารที่เป็นพระเนื้อแกร่งกับพระเนื้อแก่ปูน แต่นักสะสมบางกลุ่มเชื่อว่าพระกรุวัดเงิน คลองเตย นั้นมีการสร้างด้วยกัน 2 ครั้ง เพราะขนาดและเนื้อขององค์พระมีความแตกต่างกันนั่นเอง โดยหลังจากมีการค้นพบ “พระกรุวัดเงิน” จำนวนมากที่บรรจุอยู่ในเจดีย์หลายๆ องค์ ซึ่งมีหลากหลายพิมพ์ เช่น พระกรุวัดเงินคลองเตย พิมพ์สังกัจจายน์ไม่มีหู, พระกรุวัดเงินคลองเตย พิมพ์นาคปรก พิมพ์วัดตะไกร พิมพ์ป่าเลไลยก์ พิมพ์พระคง พิมพ์พระสังกัจจายน์มีหู-ไม่มีหู พิมพ์พระประธาน พิมพ์เล็บมือสมาธิ-มารวิชัย พิมพ์หน้าฤๅษี และพิมพ์ซุ้มกอฐานสูง-ฐานเตี้ย พระปิดตากรุวัดเงินคลองเตย ฯลฯ จึงทำให้ชาวบ้าน เหล่าเซียนพระและนักสะสมเรียกขานกรุพระนี้กันว่า “พระกรุวัดเงิน คลองเตย” ในด้านพุทธคุณของพระกรุวัดเงิน คลองเตย ได้มีการกล่าวขานต่อมากันว่ามีความโดดเด่นในด้านโชคลาภและเมตตามหานิยม จนมีคำกล่าวว่า “แขวนพระวัดเงินไม่ต้องกลัวจนเงิน” นอกจากนี้ยังมีพุทธคุณในด้านแคล้วคลาดปลอดภัยอีกด้วย
หนึ่งในพระกรุยอดนิยมที่เหล่านักสะสมพระและเซียนพระทั้งหลายอยากได้มาไว้บูชา เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคี โดยพระรอดกรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ถูกสร้างขึ้นโดย “พระฤาษีนารทะ” และได้มีการนำไปบรรจุเอาไว้ในเจดีย์วัดมหาวัน จนถูกค้นพบในช่วงราวปี พ.ศ. 2435 หลังจากการพังทลายลงของเจดีย์ จนมีเณร พระและชาวบ้านจำนวนมากขุดพบยอดเจดีย์ที่ทำด้วยศิลาแลง ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 - 2445 ได้มีการบูรณะเจดีย์ขึ้นใหม่อีกครั้งโดยการสร้างครอบองค์เดิมทับไป และได้มีการค้นพบพระรอดจำนวนมาก ส่วนหนึ่งถูกบรรจุอยู่ในเจดีย์ที่สร้างครอบ อีกส่วนหนึ่งกระจัดจายไปเนื่องจากมีผู้นำไปบูชา สำหรับพระรอด กรุมหาวัน เป็นพระเนื้อดินเผาที่มีความละเอียดสูง ส่วนด้านหลังจะมีรอยคล้ายลายนิ้วมือและมีฐาน 4 ชั้น เกิดจากการเผาและเนื้อดินได้รับความร้อนไม่เท่ากัน ทำให้สีและความแข็งแกร่งขององค์พระมีความแตกต่างกันไป โดยแยกสีได้ทั้งหมด 6 สีตามลำดับ คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง สีเขียวคาบเหลือง สีเขียว และสีเขียวเข้มเหมือนเนื้อหินครก เป็นต้น
ในด้านพุทธคุณพระรอดกรุมหาวันทุกองค์ทุกพิมพ์ จะมีความเป็นเลิศทางพุทธคุณที่ครบครัน ทั้งในด้านเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน ร่ำรวยเงินทอง เดินทางแคล้วคลาด เป็นต้น
พระนาคปรก เนื้อดิน มีอยู่หลายกรุ หลายจังหวัดด้วยกัน พระนาคปรกมีทั้งเป็นเนื้อดินเผาและเนื้อชิน ซึ่งพระนาคปรกนั้นมีความเก่าแก่ตั้งแต่สมัยลพบุรี สุโขทัยมาจนถึงอยุธยา หากพูดถึงพระนาคปรก กรุที่โด่งดังก็ต้องเป็นกรุวัดปืน ลพบุรี กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นต้น รวมถึง “พระนาค ปรกลูกยอ” จังหวัดกำแพงเพชรสำหรับพระนาค ปรกลูกยอ จังหวัดกำแพงเพชรนั้นมีพุทธลักษณะเป็นพระที่นั่งสมาธิประทับอยู่บนขนดนาค 3 ชั้น มีนาคปรก 7 เศียร สาเหตุที่ทำให้ชาวบ้านเรียกกันว่าพระนาคปรกลูกยอ เพราะเศียรของนาคทั้ง 7 มีลักษณะคล้ายกับผลลูกยอ ซึ่งพระนาค ปรกลูกยอนั้นมีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
โดยตัวองค์พระจะมีเนื้อเป็นดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระกำแพงเพชร คือ มีเนื้อดินที่ละเอียดนุ่ม ตามแบบพระสกุลทุ่งเศรษฐี ศิลปะสุโขทัย นอกจากนี้ ยังสามารถพบได้หลายกรุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกรุวัดบรมธาตุ กรุวัดอาวาสน้อย วัดอาวาสใหญ่ วัดป่ามืด รวมถึงวัดพิกุลก็ยังเจออยู่บ้าง
ในด้านพุทธคุณพระนาคปรก จะมีความครบครันทั้งด้านคงกระพันชาตรี คุ้มครองป้องกันภัย แคล้วคลาดและโชคลาภ
ทั้งหมดนี้คือความเป็นมาของพระกรุ เพื่อให้เหล่าเซียนพระรุ่นใหม่หรือนักสะสมรุ่นใหม่ได้ศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น รวมถึงใครที่มีกรุพระเก่าเก็บอยู่ที่บ้านและอยากจะตรวจสอบว่าเป็นพระแท้หรือปลอม สามารถเข้าแอปพลิเคชันช่วยเช็กพระที่มีเซียนพระมากประสบการณ์ช่วยตรวจสอบอย่าง SK Check ได้เลย
ตรวจสอบโดยทีมงานเซียนพระมืออาชีพที่มีคุณภาพ รับประกันโดยโอ๊ต บางเเพ
☑️ แอดไลน์ @skcheck
☑️ หรือคลิก https://lin.ee/didOn9m
☑️ สอบถาม / ติดตามรายละเอียด : เพจ SK Check สันขวาน by โอ๊ต บางแพ