ทำความรู้จัก! พระเหรียญ สุดยอดของขลังที่เซียนพระต้องมี

Screenshot 2567-10-24 at 14.48.09.png ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราจะได้เห็นพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ หลายเนื้อ ซึ่งหนึ่งในรูปแบบยอดนิยมที่ถูกสร้างหรือผลิตขึ้นมาอย่างยาวนานก็คือ “พระเหรียญ” ทั้งพระเหรียญหล่อ เหรียญปั๊ม วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ “พระเหรียญ” กันว่าเป็นอย่างไร พระเหรียญ มีเนื้ออะไรบ้าง และพระเหรียญแรกของประเทศไทยคือรุ่นไหน หาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้

พระเหรียญ คืออะไร ?

พระเหรียญ คือ การจำลองพระพุทธรูป พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มาปั๊มในรูปแบบของเหรียญที่ทำมาจากโลหะต่างๆ โดยพระเหรียญถูกสร้างขึ้นครั้งในแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ซึ่งการสร้างนั้นจะมีทั้งรูปแบบปั๊มและหล่อขึ้นมา

Screenshot 2567-10-24 at 14.48.17.png

พระเหรียญแรกของประเทศไทย

พระเหรียญแรกของไทย คือ พระเหรียญหลวงพ่อจิตร วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร โดยหลวงพ่อจิตรนั้นเกิดวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2390 เป็นคนอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ในปี พ.ศ. 2411 ณ อุโบสถวัดตาลอัมรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมี พระโสปาโก (ปาน) วัดบางคณฑี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสุมโน (โท) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุทรมุนี (หน่าย) วัดตาล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งหลวงพ่อจิตรได้รับฉายาว่า “ฉนฺโน”

เมื่อสำเร็จการศึกษาได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดตาลเดิม จนได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ก่อนจะย้ายไปจำพรรษาและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสที่วัดศรีสุริยวงศ์ ในสมณศักดิ์พระครูอุดมธิรคุณ ต่อมาได้ย้ายจากวัดศรีสุริยวงศ์มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร แทนหลวงพ่อหน่ายที่ได้มรณภาพไป และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ฝ่ายคณะธรรมยุติกนิกายในมณฑลราชบุรี

โดยหลวงพ่อจิตรนั้นเป็นที่โปรดปรานในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นอย่างมาก ซึ่งท่านได้รับพระราชทานสิ่งของเครื่องใช้มากมาย เช่น ผ้าห่อคัมภีร์เยียรบับ ผ้าทิพย์ตรามงกุฎครอบ จปร. กระเป๋าหนัง ย่ามปัก ผ้าปูโต๊ะลายมังกร เป็นต้น ซึ่งหลังจากที่หลวงพ่อจิตรได้มรณภาพไปในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2457 สิริอายุรวม 66 ปี 45 พรรษา เหล่าบรรดาลูกศิษย์จากญี่ปุ่นได้ออกทุนร่วมกันสร้างพระเหรียญขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก โดยมีพระธรรมวสินเป็นผู้ดำเนินการดูแลการสร้างพระเหรียญจากโรงกษาปณ์ ซึ่งเอกลักษณ์ของพระเหรียญนี้คือตรงหูเชื่อมมีความประณีตเป็นอย่างมาก

Screenshot 2567-10-24 at 14.48.25.png

พระเหรียญ มีเนื้ออะไรบ้าง ?

  1. เนื้อนวโลหะ เป็นเนื้อที่มีการนำแร่ธาตุต่างๆ ทั้ง 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน ประกอบไปด้วยโลหะ 5 ชนิด ได้แก่ เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ และจ้าวน้ำเงิน (เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่เป็นพลวง), สังกะสี, ชิน (โลหะผสมชนิดหนึ่งที่มีตะกั่วและดีบุก) และทองแดงบริสุทธิ์ รวมกันเป็น 9 ชนิด

  2. เนื้ออัลปาก้า เนื้ออัลปาก้า หรือมีอีกชื่อหนึ่งคือ ทองขาว ที่มีสีคล้ายเนื้อเงินแต่จะเหลืองกว่า เพราะมีส่วนผสมของทองแดงและสังกะสี เป็นอีกหนึ่งส่วนผสมที่นำมาผลิตเหรียญเหมือนกับทองเหลืองและทองแดง แต่เนื้ออัลปาก้าจะมีความคงทนมากกว่าทองเหลือง 3-4 เท่า และมีความวาว เงา คล้ายกับเงินนั่นเอง

  3. เนื้อสัตตะโลหะ เนื้อสัตตะโลหะ คือโลหะผสม 7 ชนิดประกอบเข้าด้วยกัน ได้แก่ เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงินและบริสุทธิ์ (ทองแดงบริสุทธิ์)

  4. เนื้อทองทิพย์ เนื้อทองทิพย์ หรือ เนื้อทองฝาบาตร เป็นเนื้อทองเหลืองที่ผ่านการปั๊มและรีดในอุณหภูมิที่ต่างกัน

  5. เนื้อชนวน เนื้อชนวน คือ เนื้อมวลสารโลหะทั้งหมดนำมาหลอมรวมเข้าด้วยกัน

  6. เนื้อมหาชนวน เป็นเนื้อมวลสารศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระเก่า พระเครื่องเก่า ตะกรุดเก่าต่างๆ ที่มีเนื้อเป็นโลหะศักดิ์สิทธิ์ นำมาหลอมรวมเข้าด้วยกันและนำไปปั๊มขึ้นรูปเป็นพระเหรียญ

การดูพระเหรียญเบื้องต้นที่มือใหม่ต้องรู้

หากคุณเป็นนักสะสมพระเหรียญมือใหม่ อาจต้องเริ่มดูเบื้องต้นจากผิวของเหรียญว่าเรียบหรือไม่ บวมไหม หรือมีรอยคลื่น รอยเกินบนพื้นผิวของเหรียญหรือเปล่า รวมถึงจุดสังเกตหลักๆ ดังนี้

Screenshot 2567-10-24 at 14.48.33.png

  1. พื้นผิวของพระเหรียญต้องเรียบตึง ขั้นตอนการผลิตพระเหรียญส่วนใหญ่จะประกอบขึ้นจากบล็อกแม่พิมพ์ตัวผู้ (ด้านหลังเหรียญ) กับตัวเมีย (ด้านหน้าเหรียญ) โดยบล็อกปั๊มเหรียญนี้จะมีความแข็งแรงมาก เนื่องจากทำขึ้นจากเหล็ก ทำให้พระเหรียญที่ถูกปั๊มออกมามีผิวที่เรียบตึง และจะมีเส้นรัศมีของเหรียญที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากแผ่นโลหะที่ถูกกระแทกนั่นเอง

  2. ความคมชัดของพระ พระเหรียญที่ผลิตขึ้นจากการปั๊มจะต้องมีความคมชัด ไม่ว่าจะเป็นใบหน้าขององค์พระ ดวงตา ริ้วรอยต่างๆ ฯลฯ ไม่มีความตื้นและเบลอ โดยพระเหรียญของแท้นั้นจะต้องมีความคมชัดเท่ากันทุกเหรียญ โดยเฉพาะตัวหนังสือ อักขระเลขยันต์ เป็นต้น

  3. รอยเจาะหูเหรียญ อีกหนึ่งจุดที่สามารถสังเกตได้จากพระเหรียญ ก็คือ รอยเจาะหูเหรียญ เพราะการเจาะหูของพระเหรียญนั้นจะเจาะด้วยการกดกระแทกจนเป็นรู ตรงรอยเจาะจะมีเนื้อปลิ้นมาด้านหลัง ซึ่งเนื้อปลิ้นนี้จะต้องมีเหมือนกันทุกเหรียญและมีความเป็นธรรมชาติด้วย

Screenshot 2567-10-24 at 14.48.39.png

4.ขอบตัดเหรียญ ขอบตัดเหรียญของพระเหรียญแต่ละรุ่น จะมีจุดที่ต้องสังเกตต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเทคนิคการดูของแต่ละคน แต่พระเหรียญทุกเหรียญจะต้องมีตำหนิที่ขอบตัดเหรียญเหมือนกัน โดยแบ่งขอบตัดออกเป็น 3 แบบ คือ

  • ขอบเลื่อยเหรียญ มักจะพบเห็นได้ในพระเหรียญยุคเก่านั่นเอง
  • ขอบกระบอก ขอบตัดแบบนี้ด้านข้างของเหรียญจะเรียบ
  • ขอบตัดยุคปัจจุบัน ขอบของพระเหรียญจะมีความคม มีตำหนิ เนื่องจากใช้เครื่องตัด

Screenshot 2567-10-24 at 14.48.47.png

ลักษณะพระเหรียญที่ควรหลีกเลี่ยง

1. พระเหรียญที่ใช้จนสึก

พระเหรียญที่ใช้งานมาจนสึก จนมองไม่เห็นรายละเอียดขององค์พระ รอยตำหนิ ลายเส้น ควรปล่อยผ่านไป ไม่นำมาเก็บสะสมหรือเช่าบูชา เนื่องจากพิจารณายาก เสี่ยงได้พระเหรียญของปลอม

2. พระเหรียญที่เลี่ยมพลาสติก

พระเหรียญเลี่ยมพลาสติกทำให้มองยาก บางเหรียญใช้พลาสติกบังสีของขอบเหรียญเอาไว้ ถ้าเจอพระเหรียญแบบนี้ แนะนำให้ปล่อยผ่านเช่นเดียวกัน เพราะนอกจากจะส่องรายละเอียดต่างๆ ของเหรียญยากแล้ว บางรุ่นเสี่ยงเป็นพระเหรียญเก๊ที่ไม่มีรายละเอียดบนตัวเหรียญด้วย

3. พระเหรียญชำรุด

พระเหรียญชำรุดที่มีรอยแตกร้าว รอยตัดหรือรอยราน (รอยปริแตกบนเนื้อพระ) ต่างๆ ให้หลีกเลี่ยง เนื่องจากเป็นพระเหรียญที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ ถึงแม้พระเหรียญบางรุ่นที่เป็นแบบนี้จะเป็นของแท้และสามารถเก็บเอาไว้ได้ แต่หากเป็นนักสะสมหรือเหล่าเซียนพระที่ทำกำไรกับการปล่อยเช่าพระ เมื่อนำพระเหรียญแบบนี้ออกไปปล่อยจะไม่ค่อยได้ราคาเท่าไรนั่นเอง

4. พระเหรียญสึกกร่อน

หากผิวเหรียญไม่เรียบเนียน ที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น โดนสารเคมี โดนไฟไหม้ สนิมกัด ฯลฯ แนะนำว่าไม่ต้องเก็บสะสมหรือบูชา เพราะไม่สามารถดูรายละเอียดต่างๆ ของพระเหรียญรุ่นนั้นๆ ได้นั่นเอง

5. พระเหรียญเสริมนอกพิธี

พระเหรียญแบบสุดท้ายที่ควรหลีกเลี่ยง คือ พระเหรียญเสริมนอกพิธี เนื่องจากพระเหรียญเสริมนอกพิธีจะมีความคล้ายคลึงกับพระเหรียญจริงทุกอย่าง จนไม่สามารถแยกได้ว่าอันไหนเป็นพระเหรียญเสริมหรือไม่เสริม ทำให้เหล่าเซียนพระและนักสะสมไม่เล่นกัน เพราะดูยาก อีกทั้งยังเป็นพระเหรียญที่ไม่ได้รับการยอมรับจากวงการพระอีกด้วย

และนี่ก็คือความเป็นมาของพระเหรียญที่ทางเรารวบรวมข้อมูลมาฝากให้กับเหล่าเซียนพระและนักสะสมพระมือใหม่ได้ทำความเข้าใจ รวมถึงวิธีการดูพระเหรียญเบื้องต้น สำหรับใครที่มีพระเหรียญเก็บสะสมอยู่และอยากจะตรวจสอบดูว่า เป็นของแท้หรือของปลอม สามารถนำมาตรวจเช็กได้ที่แอปพลิเคชัน SK Check พระเครื่องสันขวานได้เลย หรือจะแอด Line @skcheck ก็ได้เช่นกัน

SK CHECK (10).png

ตรวจสอบโดยทีมงานเซียนพระมืออาชีพที่มีคุณภาพ รับประกันโดยโอ๊ต บางเเพ

☑️ แอดไลน์ @skcheck

☑️ หรือคลิก https://lin.ee/didOn9m

☑️ สอบถาม / ติดตามรายละเอียด : เพจ SK Check สันขวาน by โอ๊ต บางแพ