ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการสร้างพระเครื่องมากมายนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งล้วนแต่มีรูปแบบที่หลากหลายด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน และหนึ่งในหัวใจสำคัญของการสร้างพระเครื่องก็คือ “มวลสาร” ซึ่งแต่ละชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกัน รวมถึงพุทธคุณ และความนิยมที่ทำให้ราคาแตกต่างกัน สำหรับใครที่อยู่ในช่วงกำลังศึกษาหรือกำลังหัดส่องพระเครื่อง วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเกี่ยวกับเนื้อพระเครื่องว่ามีอะไรบ้าง ฉบับเซียนพระมาเองได้ที่บทความนี้
มีความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่า “ดิน” เป็นดั่งสิ่งที่เทพเจ้าสร้างและมีคุณค่า จึงเป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้สร้างพระเครื่อง และเพื่อความเป็นมงคลแก่พระเครื่องที่สร้าง มักจะใช้ดินที่นำมาจากศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ สถานที่เป็นมงคล หรือมีการทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยพระเนื้อดินสามารถแบ่งได้เป็นเนื้อดินเผาและพระเนื้อดินดิบ ซึ่งพระเนื้อดินเผา ได้แก่ พระนางพญา พระซุ้มกอ ส่วนพระเนื้อดินดิบ เช่น พระผงสุพรรณ ซึ่งวิธีการทำก็จะแตกต่างกันอีกด้วย คือ เมื่อผสมมวลสารต่างๆ เป็นเนื้อเดียวกันและกดลงในแม่พิมพ์แล้ว ถ้านำไปเผาให้แห้งจะเรียกว่า “พระดินเผา” หรือถ้านำไปตากแดดปล่อยให้แห้งเองก็จะเรียกว่า “พระดินดิบ” ซึ่งจะทำให้ได้พระเนื้อดินที่มีพระเดชพระคุณ แข็งแกร่ง มีความคงทนต่อกาลเวลาที่ยาวนานหลายปี
เนื้อพระเครื่องที่สร้างจากเนื้อผงถูกสร้างขึ้นในยุครัตนโกสินทร์ มีลักษณะของพระพิมพ์ที่สร้างด้วยเนื้อปูนขาวที่ทำจากเปลือกหอยเผาเอามาตำในครก แล้วกดด้วยแม่พิมพ์แบบต่างๆ จากนั้นเอาไปผึ่งลมจนแห้งสนิท ซึ่งรุ่นแรกที่สร้างออกมา คือ พระสมเด็จอรหังและพระวัดพลับพิมพ์ต่างๆ ผู้สร้างคือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) หรือ พระญาณสังวร แต่การสร้างพระผงที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่นิยมมากที่สุด จนกลายเป็นต้นแบบยึดถือกันมาจนปัจจุบัน คือ "พระสมเด็จ” ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันนิยมสร้างโดยหลวงพ่อวัดต่างๆ มีการใช้วัสดุที่เป็นผงพุทธคุณที่มีการเพิ่มความขลัง เขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ และการบริกรรมสูตรพระคาถาลงไปพร้อมด้วย
พระเนื้อชินส่วนใหญ่จะเป็นพระจากกรุรุ่นเก่าที่มีอายุเป็นร้อยปีขึ้นไป ซึ่งวิธีการสร้างจะเป็นการผสมพระเข้ากับแร่ต่างๆ ตามสูตรโบราณแล้วฝังกรุ เมื่อมีคนไปขุดพบขึ้นมาก็จะนำมาแขวน หรือขาย เช่น พระร่วง พระมเหศวร ซึ่งเราสามารถแยกส่วนผสมของมวลสารได้อีก 3 แบบ คือ พระเนื้อชินเงิน เป็นพระที่มีส่วนผสมของดีบุกมากกว่าตะกั่ว พระเนื้อชินเขียว เป็นพระที่มีส่วนผสมของแร่ตะกั่วกับแร่สังกะสี พระเนื้อชินตะกั่ว เป็นพระที่มีแร่ตะกั่วมากกว่าแร่ชนิดอื่น
ไม้ตระกูลว่านเป็นพืชที่คนไทยนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังมีความเชื่อว่าพืชตระกูลนี้จะช่วยให้อยู่ยงคงกระพัน เป็นสิริมงคลกับชีวิต จึงได้มีการนำมาเป็นส่วนผสมของเนื้อพระเครื่องเช่นกัน “พระเนื้อว่าน” เป็นพระเครื่องที่มีการรวมส่วนผสมของ “ว่าน” ซึ่งถือว่าเป็นเนื้อมงคลเป็นเนื้อมวลสารหลักและอาจจะมีส่วนผสมของดินหรือผงอยู่ด้วย พระเครื่องที่มีส่วนผสมของว่านอยู่ เช่น พระหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, พระเนื้อว่านจำปาสัก, พระกรุทุ่งเศรษฐี, พระผงสุพรรณ
สมัยโบราณคนไทยมีความเชื่อกันว่าโลหะที่มีเนื้ออ่อนและนิ่ม จะสามารถรับพลังจากการปลุกเสกได้มาก และยิ่งเนื้อที่นำมาทำวัตถุมงคลเป็นเนื้อนิ่มมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มความขลัง รับการปลุกเสกลงบริกรรมสูตรพระคาถาได้ดีมากขึ้น โดยเชื่อกันว่าเนื้อพระเครื่องที่เป็นโลหะสามารถรับการปลุกเสกได้ดีที่สุด คือ ทองคำ ซึ่งเนื้อพระเครื่องที่เป็นโลหะมีอะไรบ้าง เราสามารถแบ่งได้ตามนี้
พระเครื่องเนื้อโลหะแบ่งได้ 5 ชนิด ได้แก่
หากใครที่กำลังสนใจและอยากเข้ามาหาความรู้เรื่องเนื้อพระเครื่อง หรืออยากรู้จักวิธีดูเนื้อพระเครื่องมีอะไรบ้าง ชวนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนคนรักพระเครื่องที่พระเครื่องสันขวาน เราพร้อมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้แก่ทุกคน จากทีมงานเซียนพระมืออาชีพ นำโดยโอ๊ต บางเเพ เซียนพระผู้มากประสบการณ์ในวงการพระเครื่องไทย
**ดูพระหรือตรวจสอบพระโดยทีมงานเซียนพระมืออาชีพที่มีคุณภาพ รับประกันโดยโอ๊ต บางเเพ
☑️ แอดไลน์ @skcheck
☑️ หรือคลิก https://lin.ee/didOn9m
☑️ สอบถาม / ติดตามรายละเอียด : เพจ SK Check สันขวาน by โอ๊ต บางแพ**